000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > ความเข้าใจผิด 90 ปี
วันที่ : 16/04/2020
5,017 views

ความเข้าใจผิด 90 ปี

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

เมื่อ 55 ปีมาแล้ว สมัยผมยังแค่ 14-15 ปี ผมจะชอบและชื่นชม ลำโพงบ้านขนาดใหญ่โตที่มักให้ปุ่มหมุนปรับความดังของเสียงกลาง ของเสียงแหลม มาให้ด้วย. บางคู่ ปรับ 3 ปุ่ม มีเสียงทุ้มด้วย ( แต่น้อยกว่า พวกปรับได้แค่ กลาง แหลม. แต่ที่ปรับได้แต่แหลม มีน้อยมาก ) กลายเป็นว่า ลำโพงที่มีราคาแพงมาก เกือบทั้งหมด จะต้องมีปุ่มหมุนปรับเสียงกลาง. ปรับเสียงแหลม ได้ด้วย จากแต่ดั้งเดิม ปรับได้แต่แหลม โดยชุดแหลม จะมีขั้วเสียบ (ขันน๊อต) มาให้เลือกใช้ 2 ชุด ดังปกติ กับค่อยลง ( ตายตัว ปรับน้อยหรือมาก ไม่ได้ )

ผมได้ลองฟังและปรับเสียง ลำโพงพวกนี้มานับไม่ถ้วน ตลอด 50 ปีของการเล่นเครื่องเสียง. เรียนตรงๆ ว่า ปรับแล้วมีผลจริง แต่หาที่ถูกใจไม่มีเลย ! ปรับแหลม ได้ ถ้าไม่เจี้ยวจ้าว ก็ ทึบ แห้ง ปรับกลาง. ได้แต่เสียงอู้ ก้อง ขึ้นจมูก. หรือถอย จม ปรับทุ้ม ได้แต่ กลางต่ำที่อื้ออึง ไม่มีคำว่า ลงลึก อิ่มแน่น. ไม่ใช้ดีกว่าใช้ ขนาด คู่ละ 4 ล้านบาท ( ราคาเมื่อ40 ปีที่แล้ว ) ไปฟังที่ฮ่องกง ปรับได้ 7 ปุ่ม 7 ช่วงความถี่ ร้านเขาปรับไว้แล้ว เขาคงไม่ให้เราแตะ ต้องแน่ เสียงออกมา ราบเรียบ จืดและแห้ง สนิท. ไร้ทรวดทรง เวทีด้านลึก พูดง่ายๆ ไร้อารมณ์สิ้นดี ให้ฟรียังเคือง !

สังเกตุว่า ถ้ามีปุ่มปรับเสียงทุ้มมาด้วย ลำโพงนั้นจะกินวัตต์มากๆ ต้องหาแอมป์กำลังขับสูงมากมาขับเสมอ. เพราะการปรับ ทั้งหมด เป็นการลดระดับลง จริงๆแล้ว ที่ระดับ + สูงสุด ของแต่ละปุ่ม คือตำแหน่งการปล่อยกระแสผ่านหมดเต็มที่ไปยังดอกลำโพง เมื่อไรที่เราปรับลดระดับลง คือ ลดการไหลของกระแสจากปกติลง เพราะวงจรปรับเสียงเป็นแบบไม่มีภาคขยายเสียงใดๆ ( PASSIVE) มีแต่ ดังปกติที่ควรจะเป็น กับ ดังค่อยลง ไม่มี ดังขี้น ได้

ข้อเสียของการมีปุ่มปรับเสียงได้

1:ลำโพงคู่นั้นมักกินวัตต์
2:เสียงทึบ ไม่โปร่งทะลุ
3:เสียงกลางไม่ธรรมชาติ
4:ปรับให้ตายเสียงก็ไม่สด ใส กรุ้งกริ้ง เป็นประกาย ระยิบระยับได้
5:เรื่องทรวดทรงเสียง แบน ไร้ความเป็น 3 D
6: เวทีเสียงแบน ตื้น ไม่ โอ่ อ่า ไม่เป็น holographic ไร้บรรยากาศ
7: เสียงมักแห้ง ไร้ความฉ่ำ พริ้วกังวานambiance
8: น้ำเสียง หาย เสียงมัก มั่ว อื้ออึง ช่วงหลายชิ้น
9: ไดนามิคแย่ลง อั้นตื้อ
10: การตอบสนองไม่ฉับไว
11: รายละเอียดหยุมหยิม หายหมด คลุมเคลือไป หมด
12: เสียง มิติ เหมือนกันไป หมด ไม่ว่าเสียงนักร้อง บรรยากาศ นักดนตรี ที่เราเรียกว่า สีสรร เดียวที่ซ้ำซากจำเจ monotone. น่าเบื่อ
13: พวกปุ่มปรับ ใช้ๆไป จะมีเสียงครืดคราด. กร๊อกแกร็ก ( วอลลูม สกปรก หรือ สึก
14: เป็นเรื่องยากมากที่จะ ปรับระดับเสียงตู้ซ้าย ตู้ขวา ให้เท่ากันเปะ

สำคัญมาก เกินคาด! คำตอบ หรือเหตุผล ของความแย่ลงทั้งหมดนี้ ก็คือว่า มันเป็นไปไม่ได้ ที่จะออกแบบระบบลำโพง ให้มีการปรับเปลี่ยนค่าตัวแปรใดๆได้ ไม่ว่าเรื่องตู้ ดอกลำโพง วงจรแบ่งความถี่เสียง แล้ว. " สุ้มเสียงทุกอย่าง และ มิติเสียง " จะยัง. ลงตัว เข้ากันได้พอดี เป็นเนื้อเดียวกันเหมือนเดิมได้

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459